Sinopsis
Podcast Day Poets
Episodios
-
b-holder EP37: “เรามาได้ครึ่งทางแล้ว” เส้นทาง ‘อนาคตใหม่’ กับปิยบุตร แสงกนกกุล
08/09/2023 Duración: 01h07min“ตั้งแต่อภิวัฒน์สยาม 2475 จนถึงวันนี้ เราไม่มีพรรคการเมืองที่เป็นพรรคการเมืองจริงๆ ส่วนใหญ่เป็นที่รวมตัวกันของคนไปลง ส.ส. เก็บจำนวน ส.ส.ให้เยอะๆ แล้วก็ไปแลกตำแหน่งรัฐมนตรีเท่านั้น” จากพรรคอนาคตใหม่มาถึงพรรคก้าวไกล วันนี้เป็นการเดินทางยาวนาน 6 ปี ของพรรคการเมืองน้องใหม่ที่มีเป้าหมายชัดเจนว่า เกิดขึ้นเพื่อ ‘เปลี่ยน’ ภูมิทัศน์การเมืองไทยให้หลุดพ้นจากสิ่งเก่าๆ บางคนบอกว่า พวกเขาเป็นพวกอ่อนหัด ไม่เข้าใจโลกของความเป็นจริง ขณะที่อีกหลายคนเห็นว่า พวกเขา ‘อันตราย’ เกินไป จนกลายเป็นสาเหตุที่พวกเขาไม่อาจเป็นรัฐบาลได้ แม้จะได้รับคะแนนนิยมสูงสุดในการเลือกตั้งที่ผ่านมา เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่ ปิยบุตร แสงกนกกุล หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่บอกว่าเขา ‘เตรียมพร้อม’ ไว้ทั้งหมดแล้ว และหากพูดถึงแผนที่เขาวางไว้ เรื่องทั้งหมดมาเร็วกว่าที่คิด และการเปลี่ยนแปลงที่เขาหวังไว้ วันนี้มาได้ถึง ‘ครึ่งทาง’ แล้ว b-holder Podcast ชวนปิยบุตรคุยยาวๆ ย้อนอดีตไปถึงวันก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ ปัจจุบันของพรรคก้าวไกล และอนาคตการเมืองที่เขาวาดหวังไว้
-
b-holder EP36: คาร์บอมบ์ 2549แผนลอบสังหาร ‘ทักษิณ’
23/08/2023 Duración: 28minเมื่อ 18 ปีก่อน รถยนต์แดวู เอสเปอโร จอดอยู่ใต้สะพานบางพลัดพร้อม ‘ระเบิด’ เต็มคันรถ หมายมุ่งสังหาร ทักษิณ ชินวัตร ผู้นำประเทศ หากระเบิดนั้นทำงานจริง รัศมีของระเบิดจะกินพื้นที่กว่า 1 กิโลเมตร วัตถุที่อยู่รอบๆ 40-50 เมตร จะถูกแรงระเบิดจนพังพาบทั้งหมด และอาจมีผู้เสียชีวิตหลักร้อยคน รวมถึงทักษิณในฐานะนายกรัฐมนตรีและเป้าสังหารสำคัญ แต่เมื่อระเบิดไม่ทำงาน กระบวนการสาวหาผู้กระทำความผิดและ ‘พล็อต’ ทั้งหมดก็ตามมา แน่นอนว่าผู้ก่อเหตุเป็นทหาร พร้อมให้ปากคำที่หลายคนหัวเราะเยาะว่า หากระเบิดไม่สำเร็จ จะมีการทำรัฐประหารตามมา ทว่าหลังจากนั้นไม่ถึง 1 เดือนการรัฐประหารก็เกิดขึ้นจริง
-
b-holder EP35: นับถอยหลัง 3 ป. จากจุดสูงสุด ถึงเวลา ‘กลับบ้าน’ และการกำเนิด ‘อนุรักษนิยม’ ใหม่
09/07/2023 Duración: 32minจนถึงวันนี้ ไม่มีใครปฏิเสธว่าระบอบ 3 ป. ที่นำโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา, พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ และ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ที่ครองอำนาจยาวนานเกือบหนึ่งทศวรรษ ได้ใกล้จุดอวสานเข้าไปทุกที จากผลการเลือกตั้งที่ย่ำแย่ และไม่ว่าจะรวมเสียงอย่างไร ก็ยากที่จะดึง 3 ป. กลับมาให้เป็นปึกแผ่นเหมือนเดิมได้ ก่อนจะไปถึงจุดนั้น เราพาย้อนกลับไปเพ่งพินิจการกำเนิดของระบอบนี้ จุดพีคของทั้งสาม และความขัดแย้งที่นำไปสู่ความพ่ายแพ้ และชวนคิดถึงหน้าตาของ ‘อนุรักษนิยม’ แบบใหม่ ที่กำลังก่อตัวขึ้น ว่าจะมีหน้าตาเป็นแบบไหน
-
b-holder EP34: 2551 1 ปี นายกฯ 4 คน หรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย?
28/06/2023 Duración: 35minย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ ปี 2551 เป็นปีที่น่าตื่นเต้นที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย 1 ปี เรามีนายกฯ ถึง 4 คน มีการพลิกขั้วทางการเมือง มีโอกาสที่จะเกิดการรัฐประหาร มีการต่อสู้กันของ ‘การเมืองมวลชน’ เหลือง-แดง ที่เปลี่ยนภูมิทัศน์ทางการเมืองไปใหม่ และจบท้ายปีด้วยเหตุการณ์ ‘ยึดสนามบิน’ และยุบพรรคการเมือง ใช้ตุลาการภิวัฒน์เพื่อแก้วิกฤต ที่สุดท้ายก็วิกฤตอยู่ดี b-holder พาย้อนเวลากลับไปยังห้วงเวลาที่ลุ้นระทึกและพิสดารที่สุดครั้งหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย พร้อมกับหาเบื้องหลังเบื้องหน้า ไม่ให้ประวัติศาสตร์กลับไปซ้ำรอยอีก
-
b-holder EP33: ‘เรื่องเล่าอันอาภัพของไอทีวี สื่อเสรีที่ไม่ได้มีอยู่จริง
11/06/2023 Duración: 33minหาก ‘ถือหุ้นสื่อ’ ไม่เป็นเงื่อนไขต้องห้ามของ ส.ส. และเกี่ยวพันกับตำแหน่ง นายกฯ ของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ตามรัฐธรรมนูญ ณ วันนี้ ก็คงไม่มีใครเชื่อว่า ‘ไอทีวี’ ยังคงเป็น ‘สื่อ’ อยู่ เพราะจุดสิ้นสุดของไอทีวีนั้นจบลงอย่างสมบูรณ์แบบเมื่อ 16 ปีก่อน และเป็นจุดเริ่มต้นของ ‘ไทยพีบีเอส’ เอาเข้าจริงเรื่อง ‘ไอทีวี’ ถือเป็นตัวบ่งบอกฉากต่างๆ ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยได้ดี… ไอทีวี เกิดจากเสียงเรียกร้องของประชาชนจากเหตุการณ์ ‘พฤษภาฯ 2535’ เรียกร้องหาช่องโทรทัศน์ที่ ‘รัฐ’ ไม่ได้ครอบงำ เริ่มประมูลสัมปทานในช่วงเศรษฐกิจบูม ก่อนจะประสบปัญหาช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ กลายเป็นโทรทัศน์ของ ‘กลุ่มทุน’ ที่เกี่ยวโยงกับการเมืองโดยตรงหลังจากนั้น และถูกยึด ถูกทุบโดยฝ่ายตรงข้ามจนไม่เหลือสภาพ เป็นการปิดฉากทีวีเสรี B-holder ชวนย้อนฟังตำนานอันอาภัพของช่องโทรทัศน์ช่องนี้ เพื่อทำความเข้าใจสถานภาพสื่อของไอทีวี ตั้งแต่วันเริ่มต้นจนถึงจุดจบ… ในวันที่สังคมตั้งคำถามว่า ไอทีวียังเป็นสื่ออยู่หรือไม่?
-
b-holder EP32: ปฏิญญาฟินแลนด์ ว่าด้วย ‘ข่าวลือ’ สะเทือนรัฐบาล
29/05/2023 Duración: 26minย้อนกลับไปช่วงเดือนพฤษภาคม 2549 ช่วงเวลาที่การเมืองไทยร้อนแรงที่สุด พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกำลังตะโกน ‘ท้ากษิณออกไป’ ข่าวว่าด้วย ‘ปฏิญญาฟินแลนด์’ ก็ผุดขึ้นมาแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย เรื่องเริ่มจาก ‘พล็อต’ ในเวทีพันธมิตรฯ และบทความในหนังสือพิมพ์ว่า ทักษิณพร้อมกับกลุ่ม ‘คนเดือนตุลาฯ’ ที่ตั้งพรรคไทยรักไทย ใช้เวลาก่อนตั้งพรรคไปล่องเรือสำราญที่ ‘ฟินแลนด์’ และมีข้อตกลงร่วมกันว่าจะ ‘พลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน’ เช่น จะทำให้ประเทศไทยอยู่ภายใต้พรรคการเมืองเดียวให้ได้ หรือสถาบันพระมหากษัตริย์จะต้องเป็นสัญลักษณ์ของประเทศเท่านั้น ข่าวนี้ไม่ได้มีที่มาที่ไป ไม่ได้มีหลักฐานอื่น นอกจากมีกลุ่มคน ‘ได้ยิน’ เรื่องนี้ขึ้นมา ก่อนลากเส้นต่อจุด จนกลายเป็นหนึ่งในเรื่องที่ชนชั้นนำแอบเชื่อ และนำไปสู่การรัฐประหารในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ผ่านมา 17 ปี ตัวละครในปฏิญญาฟินแลนด์ทั้งฝ่ายเริ่มเรื่องและฝ่ายถูกกล่าวหา ยังอยู่ครบถ้วนและยังโลดแล่นอยู่ในการเมืองไทยราวกับเรื่องนี้เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวาน b-holder ชวนย้อนฟังที่มา และตำนานของ ‘ปฏิญญาฟินแลนด์’ พร้อมกับทำความเข้าใจกระบวนการสร้าง ‘ข่าวลือ’ โดยมีจุดมุ่งหมายทางการเมืองเฉพาะ
-
b-holder EP31: ว่าด้วยแคมเปญเลือกตั้งช่วงโค้งสุดท้าย
30/04/2023 Duración: 30minว่ากันว่าช่วงสองสัปดาห์สุดท้ายก่อนเลือกตั้ง มักจะมีปรากฏการณ์แปลกๆ เสมอ ส่วนหนึ่งก็เพราะว่าในช่วงนี้ประชาชนจำนวนไม่น้อยตัดสินใจแล้วว่าจะ ‘เลือก’ หรือ ‘ไม่เลือก’ อะไร ดังนั้นพรรคที่คะแนนต่ำกว่าต้องหาทางจัดการพรรคที่คะแนนสูงกว่า และพรรคที่คะแนนสูงกว่าก็ต้องรักษาระดับเดิมไว้ ไม่ให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเกิดเปลี่ยนใจในนาทีสุดท้าย ด้วยเหตุนี้แคมเปญในช่วงสองสัปดาห์หลังจึงมีความหมายอย่างมาก แต่ละพรรคต้องงัดกระบวนท่าแปลกๆ เพื่อดึงดูดบรรดาผู้มีสิทธิ์ออกเสียงให้เปลี่ยนใจมาเลือกตัวเองให้ได้ และวิธีที่คลาสสิกที่สุดก็คือการบอกว่า ‘ไม่เลือกเรา เขามาแน่’ b-holder สัปดาห์นี้ พาไปสังเกตการณ์อดีตของการหาเสียงด้วยวิธีดังกล่าว พร้อมทั้งพูดถึง ‘ผลลัพธ์’ ซึ่งอาจเป็นตัวบอกว่าในช่วงสองสุดท้ายนี้ เราจะต้องเจอกับอะไรบ้าง
-
b-holder EP30: ที่มา เรื่องอื้อฉาว และประวัติศาสตร์ ที่ไม่น่าจดจำของ กกต.
17/04/2023 Duración: 37minคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กลายเป็นตำบลกระสุนตก เมื่อหลายเรื่องประดังประเดเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นกรณี ‘เว็บล่ม’ ในคืนสุดท้าย ทำให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวนมากลงทะเบียนไม่ทัน หรืออยู่ดีๆ ก็เกิดต้องไปดูงานต่างประเทศในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนเลือกตั้ง เรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก และทำให้ประชาชนหลายคนไม่มั่นใจว่าการเลือกตั้งจะเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมหรือไม่ แต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ กกต.ถูกวิจารณ์ หากย้อนประวัติศาสตร์กลับไป เรามีทั้ง กกต.ติดคุก กกต.ที่ถูกกล่าวหาว่ารับคำสั่ง กระทั่ง กกต.ที่ไม่อยากจัดการเลือกตั้ง ขอให้รัฐบาลเลื่อนการเลือกตั้งออกไปเรื่อยๆ b-holder สัปดาห์นี้ชวนย้อนประวัติศาสตร์ของ กกต. ตั้งแต่ที่มา เรื่องครหา และความด่างพร้อย เพื่อเตรียมพร้อมจับตามองการเลือกตั้งรอบนี้ว่าจะมีเรื่องอะไรแปลกๆ อีกหรือไม่
-
b-holder EP29: ชำแหละสาแหรก ‘ปาร์ตี้ลิสต์’ พรรคหลัก จากตัวจ่าย ถึงตัวตึง
05/04/2023 Duración: 33minการจัดอันดับ ‘ปาร์ตี้ลิสต์’ นับเป็นพิธีกรรมหนึ่งนับตั้งแต่มีสิ่งนี้ขึ้นในสารบบการเมืองไทย ปาร์ตี้ลิสต์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อลบภาพของ ‘เจ้าพ่อ’ ‘หัวคะแนน’ และ ‘กระสุน’ ในการเมืองไทย พาบรรดามืออาชีพเข้าสู่สนามการเมืองมากขึ้น ทว่านวัตกรรมนี้กลับกลายเป็นหนทางใหม่ของเจ้าของมุ้งและนายทุน เพื่อเข้าสู่ระบบการเมืองโดยที่ไม่ต้องออกแรงมากนัก ทุกๆ การเลือกตั้ง การจัดลำดับปาร์ตี้ลิสต์มีทั้งคนสมหวังและคนผิดหวัง เพราะการจัดลำดับย่อมหมายถึงหากพรรคไม่มีกระแสมากพอ ได้เสียงไม่มากพอ ก็หมายถึงการลงทุนนั้นสูญเปล่า b-holder สัปดาห์นี้ชวนดูเกมการเมืองว่าด้วยการใช้ระบบปาร์ตี้ลิสต์ให้เป็นประโยชน์ พร้อมกับวิเคราะห์ว่าลำดับปาร์ตี้ลิสต์ในการเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 นี้ กำลังส่อนัยอะไรในการเมืองไทย
-
b-holder EP28: บรรหาร ศิลปอาชา ภาพจำนายกฯ คนธรรมดา และภาพสะท้อนการเมืองแบบ ‘หวังผล’
14/03/2023 Duración: 31minภาพจำที่คุณมีต่อ บรรหาร ศิลปอาชา เป็นอย่างไร เป็นนายกรัฐมนตรีร่างเล็กที่พูดเสียงดัง เป็นนักการเมืองที่ร่วมรัฐบาลได้ตลอด เป็นสัญลักษณ์แห่ง ‘สุพรรณบุรี’ หรือเป็นทุกอย่างรวมกัน หากย้อนกลับไป บรรหาร ศิลปอาชา คือหนึ่งชื่อที่เปลี่ยนการเมืองไทย… คนธรรมดาๆ คนหนึ่งจากสุพรรณบุรีที่ประสบความสำเร็จจากธุรกิจก่อสร้าง วันหนึ่งกลับ ‘ยึด’ พรรคชาติไทย พรรคของขุนทหาร จนประสบความสำเร็จได้เป็นนายกรัฐมนตรี และในอีกแง่หนึ่ง ชื่อของบรรหารก็มาด้วยความเป็น ‘ท้องถิ่นนิยม’ ยากยิ่งนักที่บ้านเกิดนายกรัฐมนตรีสักคนจะเจริญงอกเงย มีถนนหนทางดีแบบสุพรรณบุรี ภูมิลำเนาของบรรหาร แต่ทั้งหมด ‘เติ้ง เสี่ยวผิง’ เมืองไทย ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในหลายแง่ ทั้งในความแพรวพราวของเกมการเมือง ที่มักจะพาพรรค ‘ร่วมรัฐบาล’ ได้ทุกรอบ ไปจนถึงความเป็นต้นตำรับการเมืองแบบเก่าที่ไม่ได้สร้างมรรคผลอะไรให้คนรุ่นหลังมากนัก b-holder พาไปสำรวจเส้นทางของบรรหาร ทาบกับการเมืองไทยในปัจจุบัน ว่าตัวเขา และเส้นทางของตระกูลศิลปอาชา ได้สะท้อนสัจธรรมและสร้างตำนานอะไรให้กับการเมืองไทยบ้าง
-
b-holder EP27: พลเอก ฉลาด หิรัญศิริ จากว่าที่ ผบ.ทบ. สู่นักโทษทางการเมืองคนสุดท้ายที่โดนยิงเป้า
01/03/2023 Duración: 32minหากย้อนเรื่องราวกลับไปในประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ ‘กบฏ 20 มีนาคม 2520’ นำโดย พลเอก ฉลาด หิรัญศิริ อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก ยังเป็นความพยายามรัฐประหารที่มี ‘ปริศนา’ เกิดขึ้นหลายประการ ไม่ว่าจะด้วยเรื่องของแรงจูงใจ เบื้องหลัง และเรื่องราวต่างมุมที่แวดล้อมเหตุการณ์สำคัญอย่างการสังหาร พลตรี อรุณ ทวาทศิน ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กลางกองบัญชาการของคณะรัฐประหาร ที่ทำให้การยึดอำนาจแบบลับๆ ครั้งนี้ กลายเป็นการรัฐประหารที่ล้มเหลว เพราะมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่เสียชีวิต หลังเหตุกบฏเพียงไม่ถึงเดือน จากคนที่เคยเป็นว่าที่ผู้บัญชาการทหารบก ผู้ลั่นไกสังหารนายพลก็กลายเป็นนักโทษ และในที่สุดกระบวนการยุติธรรมทำหน้าที่อย่างรวดเร็ว จบลงที่ ‘แดนประหาร’ โดยไม่มีใครคาดคิดด้วยคำสั่งเบ็ดเสร็จเด็ดขาดของ ธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรีในเวลานั้น ด้วยคำที่พลเอกฉลาดพูดตลอดเวลาก่อนเสียชีวิตว่าถูก ‘หักหลัง’ b-holder พาไปสำรวจช่วงเวลาก่อนที่อดีตรองผู้บัญชาการทหารบกจะกลายเป็นนักโทษประหาร และหาคำตอบของบรรดาปริศนาอันซับซ้อนในเหตุการณ์กบฏ 20 มีนาคม 2520 ว่าแท้จริงแล้วเกิดอะไรขึ้นบ้าง และใครหักหลังใครกันแน่
-
b-holder EP26: เจ้าพ่อ บ้านใหญ่ และสังคมอุปถัมภ์ สัจธรรมของการเมืองไทย
12/02/2023 Duración: 40minการเมืองแบบ ‘เจ้าพ่อ’ และ ‘บ้านใหญ่’ ถือเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่อยู่คู่กับประชาธิปไตยแบบไทยๆ มาหลายทศวรรษ การถือกำเนิดของบ้านใหญ่มาจากการ ‘อุปถัมภ์’ ทั้งตัวบุคคล ชุมชน และสร้างบารมีจากการสะสมทรัพยากรในจังหวัด สยายปีกไปยังการทำธุรกิจต่างๆ และเมื่อถึงจุดหนึ่ง ก็ลงสนามการเมือง ทำให้หลายนามสกุลอยู่คู่กับสนามการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่น และในระดับชาติมาอย่างยาวนาน ตัวอย่างการเมืองแบบบ้านใหญ่คือตระกูล ‘คุณปลื้ม’ ของจังหวัดชลบุรี ตระกูล ‘เทียนทอง’ ของจังหวัดสระแก้ว และตระกูล ‘สะสมทรัพย์’ ของจังหวัดนครปฐม ที่หากย้อนประวัติกลับไป ตระกูลเหล่านี้อยู่คู่กับการเมืองในแต่ละจังหวัดมานานกว่า 3-4 ทศวรรษ และ ณ ปี 2566 ก็ยังคงเวียนว่ายอยู่ในการเมืองไทย มิหนำซ้ำ บรรดาผู้เชี่ยวชาญยังคงวิเคราะห์ว่าคนนามสกุลเหล่านี้ยังมีโอกาสเป็น ส.ส. ต่อไปได้อีกเรื่อยๆ b-holder ชวนฟังต้นกำเนิดของ ‘บ้านใหญ่’ ว่าเพราะเหตุใดจึงอยู่คู่กับการเมืองไทยมาแบบฝังแน่น ไปจนถึงวิวัฒนาการการสะสม ‘ทุน’ การสร้างระบบอุปถัมภ์ กระทั่งการดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน ว่าเพราะเหตุใด ไม่ว่าระบบการเมืองจะเป็นแบบ ‘เผด็จการ’ หรือ ‘ประชาธิปไตย’ บ้านใหญ่ ก็ยังมีที่ทางอยู่เสมอ
-
b-holder EP25: ย้อนอดีต 112 ปกป้องพระมหากษัตริย์ หรือเครื่องมือเล่นงานทางการเมือง
02/02/2023 Duración: 35minประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี” เป็นถ้อยความสั้นๆ ที่ ‘ทรงพลัง’ และกลายเป็นจุดศูนย์กลางท่ามกลางการต่อสู้ทางการเมืองยุคใหม่ อันที่จริงหากย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ ความผิดฐาน ‘ดูหมิ่น’ พระมหากษัตริย์นั้นไม่ได้แน่นอน ทว่าเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตามแต่สถานะของพระมหากษัตริย์ในเวลานั้นๆ ทั้งในห้วงเวลาที่ทรงเป็น ‘สมมติเทพ’ ในเวลาที่พาสยามเข้าสู่สมัยใหม่ หรือ ณ เวลาที่คณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นพระมหากษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ ความรุนแรงของโทษล้วนมีพลวัตขึ้นลงเสมอ กล่าวสำหรับปัจจุบัน สถานะของมาตรา 112 ดูจะ ‘รุนแรง’ ที่สุด เป็นผลพวงโดยตรงจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งยังส่งผ่านมาถึงวันนี้ และเป็นจุดสูงสุดในแง่ของการฟ้องร้อง จำนวนคดี และอัตราโทษที่รุนแรง ไปจนถึงการผูกไว้กับเรื่องความมั่นคง ส่งให้คดีที่เกี่ยวข้องกับมาตรานี้พุ่งเกิน 200 คดี และยังไม่มีจุดสิ้นสุด ยังไม่มีตอนจบง่ายๆ b-holder ชวนย้อนกลับไปมองอดีตของมาตรา 112 รวมถึงข้อถกเถียงที่มีต่อประมวลกฎหมายอาญามาตรานี้ และหาคำ
-
b-holder EP24: จากเสรีมนังคศิลา ถึงพลังประชารัฐ ย้อนอดีตการล่มสลายของ ‘พรรคทหาร’
15/01/2023 Duración: 38minเมื่อการรัฐประหารกับการเมืองไทยเป็นของคู่กัน สิ่งที่มักเกิดขึ้นในอดีตก็คือเมื่อ ‘ทหาร’ ต้องการวางมือจากการเป็นเผด็จการก็ต้องตั้งพรรคทหารมารองรับ วิธีปฏิบัตินั้นไม่ต่างจากเดิม โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวคือ ‘ไปต่อ’ ฉะนั้นต้องใช้สรรพกำลังทุกวิถีทางเพื่อดึงดูด ส.ส.กลุ่มเดิมๆ เข้า ไม่ว่าจะด้วยกำลังเงิน หรือด้วยโปรโมชันย้ายค่าย-เคลียร์คดี เพื่อให้มี ส.ส.ในมือตุนให้ได้มากที่สุด ส่งผู้นำทหารเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยต่อไป แต่ว่ากันตามตรง ในอดีตแทบไม่มีพรรคทหารที่ประสบความสำเร็จ และอยู่ได้เกิน 2 ปี ความล้มเหลวอาจแบ่งได้ 2 ประการคือ ผู้นำทหารนั้นความอดทนต่ำ จุดเดือดต่ำ ไม่สามารถทนการต่อรองของบรรดานักการเมืองได้ และอีกส่วนก็เป็นความล้มเหลวของตัว ‘ระบอบการปกครอง’ ใหม่ อันเป็นการผสมพันธุ์ระหว่างเผด็จการและประชาธิปไตยแบบปลอมๆ ที่ถึงที่สุดระบอบการปกครองนั้นก็ไม่ลงตัว กลายเป็นจุดตายของพรรคทหารทุกพรรค เรื่องที่น่าเหลือเชื่อก็คือ หากย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ ‘พลังประชารัฐ’ ได้กลายเป็นพรรคทหารที่มีอายุยืนยาวที่สุด แต่จนถึงการเลือกตั้งครั้งหน้า อนาคตของพรรคทหารก็ยังคงเลือนราง ไม่แน่นอน b-holder ชวนย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ของพรรคทหาร ตั
-
b-holder EP23: ว่าด้วยกฎมณเฑียรบาล และการสืบราชสันตติวงศ์ในราชวงศ์ไทย
01/01/2023 Duración: 35minในประวัติศาสตร์ไทย การสืบราชสันตติวงศ์เป็นเรื่องวุ่นวาย ในสมัยอยุธยานั้น การไม่กำหนดกฏเกณฑ์ อาศัยเพียงพระราชอำนาจและขุมกำลังว่าฝ่ายใดเหนือกว่า เป็นต้นเหตุของการล้มราชวงศ์อยู่หลายครั้ง และปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นต้นเหตุให้อาณาจักรเกิดความระส่ำระสายทุกครั้งเมื่อเกิดเหตุการณ์ผลัดแผ่นดิน ครั้นถึงสมัยในหลวง รัชกาลที่ 5 เริ่มมีพัฒนาการ คือใช้วิธีการตั้งมกุฎราชกุมาร โดยวัดจาก ‘แม่’ เป็นหลัก ขณะที่สมัยรัชกาลที่ 6 มีพัฒนาการไปอีกขั้น คือเริ่มมี ‘กฎมณเฑียรบาล’ เพื่อควบคุมการสืบราชสมบัติ แต่ด้วยกฎมณเฑียรบาลอย่างเดียวอาจจะไม่พอที่ทำให้สาย ‘มหิดล’ สามารถสืบราชสมบัติได้ หากปราศจากอำนาจทางการเมืองในยุคคณะราษฎร b-holder ตอนนี้ พาไปดูพัฒนาการและประวัติศาสตร์ว่าด้วยการสืบราชสมบัติของพระมหากษัตริย์ไทยในอดีต
-
b-holder EP22: การเมืองไทยในปี 2022 โดดเดี่ยว อลเวง และช็อตฟีล
18/12/2022 Duración: 35minหากจำกัดความสถานการณ์การเมืองไทยในปี 2022 คงอยู่ภายใต้ 3 คำ โดดเดี่ยว - ด้วยสถานะของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในรอบปีที่ 8 ที่ไม่ได้มี ‘อำนาจเต็ม’ อยู่ในมือ และต้องต่อรองกับบรรดา ส.ส. มองอย่างไรก็หนีไม่พ้นคำนี้ การอภิปรายไม่ไว้วางใจรอบหลัง คะแนนของพลเอกประยุทธ์ยังอยู่ในระดับ ‘รองบ๊วย’ น้อยกว่ารัฐมนตรีและรองนายกฯ หลายคน อลเวง - สภาวะสุญญากาศ หลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน ‘พักงาน’ พลเอกประยุทธ์ ได้ทำให้ดุลอำนาจหลายอย่างเปลี่ยนไปในห้วงเวลาสั้นๆ อำนาจของพลเอกประยุทธ์ไม่ได้มีมากเหมือนเดิม และการ ‘ดิ้น’ หาบ้านใหม่ของ ส.ส. จนกลายเป็นพรรคภูมิใจไทยที่เก็บตก ส.ส. ได้มากที่สุด ย่อมส่งผลสะท้อนต่ออำนาจทหารที่ไม่ได้แข็งแกร่งเหมือนเดิมอีกต่อไป ช็อตฟีล - ชัยชนะระดับ ‘แลนด์สไลด์’ ของฝั่งตรงข้ามรัฐบาล ไม่ว่าจะสนามการเลือกตั้งซ่อมนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สนามผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สนามเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพ และสนามเลือกตั้งซ่อม ส.ส. ย่อมเป็นเรื่องที่ไม่มีใครคาดถึงมาก่อน ขณะเดียวกัน ความขัดแย้งตลอดปีผ่านมาสั่นคลอน 3 ป. จนอ่อนปวกเปียก และที่สำคัญคือการตัดสินใจ ‘แยกทาง’ กันระหว่าง 2 ป. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
-
Ways of Being Wild EP14: Grotesque of Thai literature วรรณกรรมไทยกับเรื่องราวสุดพิลึก
11/12/2022 Duración: 29minWays of Being Wilds EP.14 ขอชวนคุณผู้ฟังมาร่วมส่งท้ายปี 2565 กับวรรณคดีไทยเนื้อหาสุดพิลึก ที่บางเรื่องแทบไม่น่าเชื่อว่าจะมีผู้ประพันธ์ขึ้นมาได้ เหตุใดวรรณกรรมเหล่านี้แทบไม่หลงเหลืออยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ไทย และวรรณกรรมเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงบริบทสังคมไทยในช่วงเวลานั้นอย่างไรบ้าง ขอเชิญมาหาคำตอบไปพร้อมกัน
-
b-holder EP21: เจ้าดารารัศมี ‘เจ้า’ เชียงใหม่ ผู้เชื่อมล้านนาและสยามเข้าด้วยกัน
04/12/2022 Duración: 37minหากพูดถึงบรรดาบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์เชียงใหม่ ‘เจ้าดารารัศมี’ คือหนึ่งในนั้น ผ่านมาร้อยกว่าปี เรื่องที่ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรง ‘ขอตัว’ เจ้าดารารัศมี ธิดาของเจ้าเมืองเชียงใหม่มาแต่งงานในกรุงเทพฯ ยังเป็นประวัติศาสตร์อันลือลั่น เรื่องราวที่เล่าต่อกันภายหลัง มีทั้งในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงรับเลี้ยงเจ้าดารารัศมี เพื่อไม่ให้ควีนวิกตอเรียขออังกฤษขอเป็นลูกบุญธรรม มีทั้งการบังคับแต่งงานเพื่อรวบรวมสยามให้เป็นปึกแผ่น ไม่ให้ล้านนาแข็งข้อ และอีกนัยหนึ่งก็เป็นความต้องการของเจ้าเมืองเชียงใหม่ ในการผูกมิตรกับสยามที่มีอำนาจเหนือกว่า เป็นการเมืองภายในที่ต้องการจัดการกับ ‘ญาติ’ ของตัวเอง ที่กำลังแย่งอำนาจกับวุ่นวาย และอีกนัยหนึ่ง ประวัติศาสตร์ว่าด้วยเจ้าดารารัศมีก็เป็นประวัติศาสตร์ที่เพิ่งรื้อฟื้น การทรงไปเป็น ‘ตัวประกัน’ ตั้งแต่อายุ 13 ไม่ได้สวยหรูขนาดนั้น และต้องเผชิญหน้ากับคำนินทาดูถูกมากมาย หลังจากสิ้นพระชนม์ไปแล้วหลายสิบปี เรื่องของ ‘เจ้าดาราฯ’ เพิ่งถูกกลับมาเล่าใหม่ ตีความใหม่อีกครั่ง เพื่อเชื่อมความเป็นท้องถิ่นนิยมในเชียงใหม่ และความภักดีในราชวงศ์จักรีเข้าไว้ด้วยกัน b-holder EP นี้ยังอยู่ที่เชียงใหม่ เพื่อค้นหาความหมายใน
-
Ways of Being Wild EP13: สี จิ้นผิง กับการกุมอำนาจสาธารณรัฐประชาชนจีนแบบเบ็ดเสร็จ
27/11/2022 Duración: 35minสถานการณ์การเมืองล่าสุดของประเทศจีนหลังจาก ‘สี จิ้นผิง’ (Xi Jinping) ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนติดต่อกันเป็นสมัยที่ 3 ภายในการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ชุดที่ 20 แบบเต็มคณะครั้งแรก ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 16-22 ตุลาคม 2022 ณ หอประชุมประชาชน กรุงปักกิ่ง หมายความว่าประธานาธิบดีสีจะยังคงรักษาตำแหน่งผู้มีอำนาจสูงสุดบนแผนดินมังกรต่อไปเป็นวาระที่ 3 อีกอย่างน้อย 5 ปี แม้จะมีวัยแตะหลักเกษียณราชการแล้วก็ตาม นอกจากนี้ การประชุมดังกล่าวทางคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีน (Communist Party of China: CCP) ยังมีมติเห็นชอบแต่งตั้งให้ สี จิ้นผิง ดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง (Central Military Commission) รวมถึงมีการแต่งตั้ง 7 คณะกรรมการถาวรประจำกรมการเมืองชุดใหม่ (Politburo) ที่มีสี จิ้นผิง เป็นหนึ่งในนั้น อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจคือ สุนทรพจน์ความยาว 104 นาที ที่เกี่ยวโยงถึงนโยบายการปกครองสาธารณรัฐประชาชนจีนในอนาคต โดยมีใจความสำคัญทั้งหมด 5 ข้อ คือ 1. จุดยืนต่อไต้หวันและฮ่องกงที่เน้นเป็นไปอย่าง ‘สันติ’ แต่พร้อมใช้ ‘กำลัง’ หากจำเป็น ดั่งเช่นการกวาดล้างเหล่า
-
b-holder EP20: ครูบาศรีวิชัย จากนักบุญล้านนา สู่ ‘ศัตรู’ ของรัฐไทย
23/11/2022 Duración: 31minหากย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ สมัย ‘ล้านนา’ ยังไม่อยู่ภายใต้สยาม ครูบาศรีวิชัยน่าจะเป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเวลานั้น ด้วยชื่อเสียงของการเป็นพระสงฆ์นักพัฒนา ผู้ซ่อมแซมวัดวาอารามหลักหลายร้อยวัด และด้วยแรงศรัทธา ซึ่งสามารถรวมทั้งพระสงฆ์และฆราวาส จนสามารถดูแลวัด สร้างวัด กระทั่งสร้างถนนหนทางในจำนวนมหาศาลขนาดนั้นได้ทั่วภาคเหนือ แรงศรัทธาของผู้คนมหาศาลได้ผลักให้ครูบาศรีวิชัยกลายเป็นศัตรูของผู้มีอำนาจหลายครั้งหลายครา ไม่ว่าจะยุคที่สยามยังเป็นสมบูรณาญาสิทธิราช สยามต้องการผนวกรวมอาณาจักรล้านนาให้กลายเป็นสยามหนึ่งเดียวภายใต้พระมหากษัตริย์ที่อยู่ในกรุงเทพฯ หรือสยามในยุค ‘ประชาธิปไตย’ ที่ต้องการคำตอบแน่ชัดว่า ‘พระสงฆ์’ รูปนี้อยู่ข้างไหนกันแน่ อยู่ข้าง ‘เจ้า’ ที่เพิ่งถูกยึดอำนาจ หรืออยู่ข้างคณะราษฎร ผู้มีอำนาจกลุ่มใหม่ เรื่องราวของครูบาศรีวิชัยเป็นทั้งเรื่องการ ‘ต่อสู้’ ภายในอาณาจักรล้านนา เป็นทั้งเรื่องการต่อต้านอำนาจรัฐ และอาจเป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไมรัฐไทยถึงได้กลัวการ ‘กระจายอำนาจ’ มากนัก จนเป็นเหตุให้ในที่สุดการกระจายจึงไปไม่ถึงฝั่งฝันเสียที